top of page
Open Site Navigation
  • Facebook
  • HTT Line-OA
  • Writer's pictureHealthtech Thailand

‘มือเทียมกล’ ความหวังของผู้พิการ นวัตกรรมเพื่อคุณภาพชีวิตจากนักวิจัยไทย

ในวันนี้ขอนำเสนอ


ด้วยระบบ Electromyography Muscle Sensor ผลผลิตที่สะท้อนความต้องการของผู้ใช้งานจริง

.

มือและแขน เป็นอวัยวะสำคัญที่ช่วยในการดำรงชีวิต สำหรับผู้พิการที่ไม่มีสองสิ่งนี้ การใช้ชีวิตประจำวันโดยพึ่งพาตนเองทั้งหมด ดูจะไม่ง่ายดายนัก แม้อุปกรณ์ช่วยอย่างมือเทียมหรือแขนเทียมจะถูกคิดค้นขึ้นมานานแล้ว แต่กลับมีเสียงสะท้อนว่าที่มีอยู่ทุกวันนี้ไม่ได้ตอบโจทย์ให้ผู้พิการอย่างแท้จริง ด้วยดีไซน์ที่เน้นเสริมสร้างภาพลักษณ์มากกว่าการใช้งานจริง จึงเป็นเหตุให้หลายสถาบันทั่วโลกมุ่งพัฒนา ‘มือเทียมกล’ ที่ตอบสนองต่อการเคลื่อนไหวของผู้พิการ

.

ถึงอย่างนั้นมือเทียมกลก็มีข้อจำกัดที่ราคาค่อนข้างสูง เริ่มต้นที่หลักหมื่นปลาย ๆ ไปจนถึงหลักแสน ทำให้ยากต่อการเข้าถึง ผศ.ดร.นพรัตน์ ธรรมวงศา อาจารย์คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี พร้อมด้วยทีมวิจัยที่ต้องการช่วยให้ผู้พิการเข้าถึงนวัตกรรมนี้ได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น จึงได้พัฒนา ‘โครงการสร้างมือเทียมกลควบคุมผ่านตัวรับสัญญาณไฟฟ้าในกล้ามเนื้อ’ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โดยไอเดียนี้ต่อยอดมาจากชิ้นงานเกี่ยวกับ ‘ไอรอนแมน’ ที่ทดลองขึ้นต้นแบบแขนกลเวอร์ชั่นแรกด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ โดยกลุ่มนักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบอัตโนมัติ

.

สำหรับการทำงานของมือเทียมกลสุดล้ำนี้ ผศ.ดร.นพรัตน์อธิบายว่า “เมื่อผู้พิการสวมใส่ เซ็นเซอร์ตรวจสัญญาณไฟฟ้าที่กล้ามเนื้อหรือ Electromyography Muscle Sensor ที่เชื่อมต่อกับมือเทียมกลจะตรวจชุดสัญญาณไฟฟ้าที่ถูกสั่งการจากสมอง และมาสั่งการชุดควบคุมของมือเทียมกลให้ทำงาน เช่น กำมือ-แบมือ เพื่อหยิบหรือวางสิ่งของ ซึ่งหวังว่าจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้ผู้พิการแขนดำเนินชีวิตได้ดีขึ้น”

.

และนอกจากฟังก์ชันกำ-แบแล้ว ทางทีมยังตั้งใจจะพัฒนาให้มือเทียมกลนี้สามารถสั่งการทำงานแยกนิ้วได้ทั้ง 5 นิ้ว เพื่อให้ใกล้เคียงกับมือจริง ๆ และใช้ประโยชน์ได้สูงสุด แม้ ณ ตอนนี้จะยังไม่ง่าย เนื่องจากกล้ามเนื้อของผู้พิการโดยกำเนิดแทบไม่เคยถูกพัฒนามาก่อน หรือแม้แต่ผู้สูญเสียแขนในภายหลังก็ไม่มีมัดกล้ามเนื้อที่จะทำให้เกิดสัญญาณไฟฟ้าที่หลากหลาย แต่ทีมวิจัยก็ทำเต็มที่ความตั้งใจที่จะช่วยให้ผู้พิการเข้าถึงโอกาสในการใช้ชีวิตอย่างมีศักยภาพในราคาที่จับต้องได้ และยังพยายามทำให้มือเทียมกลนี้มีน้ำหนักเบาเพื่อให้เหมาะกับใช้งานจริง โดยในอนาคตทางทีมยังตั้งเป้าจะพัฒนาต่อเนื่องไปถึงขาเทียมกลด้วย แบบนี้ต้องขอเอาใจช่วยให้สำเร็จไว ๆ แล้ว

.

จบการรายงานข่าว HTT Monday News ประจำวันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2564 ขอขอบคุณทุกท่านที่ติดตามข่าวสารสุขภาพไปพร้อมกันกับเรา

.

สนับสนุนข่าวสารดี ๆ แบบนี้โดย Health Tech Thailand 2021


………………………………………………………..


งาน Health Tech Thailand 2021 เปิดโอกาสต่อยอดทางธุรกิจนวัตกรรมการเเพทย์เเละสุขภาพครั้งแรกในเมืองไทย

Hybrid Event ระดับประเทศที่รวมเทคโนโลยีด้าน Health & Wellness พร้อมใช้งานได้จริงไว้มากที่สุด


ถ้าคุณต้องการเปิดโอกาสทางธุรกิจ ไม่ควรพลาดมาเป็นส่วนหนึ่งของงานนี้

โอกาสในการพบนักลงทุน นักธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ

เปิดช่องทางการ ขาย ONLINE ไปต่างประเทศ

เลือกช้อปนวัตกรรม มากกว่า 100 นวัตกรรมครบจนที่เดียว

พบกับลูกค้าตัวจริง ทดลองตลาดจริง มีโอกาสขายจริง

เปลี่ยนคู่เเข่งเป็นพันธมิตร ทางธุรกิจเพื่อการเติบโต


Thailand Science Park หน่วยงานหลักผู้ผลักดันกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรม Health Cluster ขับเคลื่อนประเทศไทยก้าวสู่ World Medical Hub


8-9 ธ.ค. นี้ ปักหมุดสุขภาพดี และ เตรียมส่องโอกาสการลงทุนในธุรกิจอนาคตกัน


รายละเอียดเกี่ยวกับงานเพิ่มเติม

www.healthtech-thailand.com

สอบถามพื้นที่การจัดงานกับทีมงานได้โดยตรง

อีเมล: htt@nstda.or.th

โทร 02-5647170 ต่อ 6012-6013

Line OA: @healthtechthailand (มี@)

หรือคลิก bit.ly/healthtechthailand-line


จัดงานโดย

อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)


#งานมหกรรมนวัตกรรมการแพทย์และสุขภาพ

#HealthTechThailand#HTT2021


Source:

https://researchcafe.org/bionic-hands/

https://www.banmuang.co.th/news/education/179785

https://www.khaosod.co.th/newspaper.../sci-tech/news_3547735

See Less

bottom of page